วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่น





   ตำบลหนองโพนงาม แยกจากตำบลบ้านเป้า อำเภอเกษตร
สมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มาตั้งเป็นตำบลหนอง โพนงาม เมื่อ พ.ศ. 2513 มีกำนันคนแรก คือนายสิงห์ มงคล คนที่ 2 คือ
นายน้อย สูงภิไลย์ และคนที่ 3 คือ นายประยูร แม้นชัยภูมิ ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพนงาม เมื่อ พ.ศ. 2539 ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ.2537
  ตำบลหนองโพนงาม เป็นตำบลในเขตการปกครองของ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีลำห้วยทิกเป็นลำน้ำ สายหลัก ณ ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพนงาม มีทั้งหมด
15 หมู่บ้าน


คำขวัญประจำท้องถิ่น

วัดป่าห้วยกุ่มเลื่องลือ    นามระบือน้ำตกทับแข้
หินดักแด้แหล่งไดโนเสาร์   ยอดภูเป้างามเลิศล้ำ
นามประเสริฐ  คือ หนองโพนงาม

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านโครงสร้าง
พื้นฐาน(ระบบบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน)ข้อมูลทั่วไป  (2552)

1.1 ด้านกายภาพ
   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพนงามเป็น อบต.ขนาดกลาง  มีพื้นที่ 252  ตาราง กิโลเมตรหรือ 157,500 ไร่ อยู่ห่างจากอำเภอเกษตร-สมบูรณ์ 22 กิโลเมตรและอยู่ห่าง จากตัวจังหวัดชัยภูมิ 120 กิโลเมตร อาณาเขต  
ทิศเหนือ ติดเขตตำบลทุ่งลุยลาย และตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร
จังหวัดชัยภูมิ
ทิศใต้    ติดเขตตำบลบ้านเป้า อำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ
ทิศตะวันออก ติดเขตตำบลบ้านแก้ง  อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ทิศตะวันตก  ติดเขตตำบลกุดเลาะ  อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
1.2. ด้านสังคม 1.2.1 ประชากร
 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพนงามมีประชากร สำรวจ ณ วันที่  30 กันยายน 2551 จำนวน 12,560 คน มีชาย 6,305 คน หญิง 6,255 คน  มีหมู่บ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้าน 3,343 หลังคาเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 50 คน/ตารางกิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 30  เปอร์เซ็นต์เป็นที่ตั้งของบ้านเรือนราษฎร อีก 70  เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่การเกษตรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
1.3 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  1.3.1 ถนน 
         ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพนงามรวมระยะทางของถนนประมาณ  40 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตส่วนถนนเข้าสู่พื้นที่การเกษตร
เป็นถนนลูกรัง ซึ่งมีพื้นที่ยาวมากบริเวณ หมู่ 1,11ส่วนถนนทางเข้าหมู่บ้าน หมู่ที่ 4,5,11,12,13 เป็นถนนลาดยางมีสภาพเป็นหลุม เป็นบ่อในช่วงฤดูฝน ส่วนถนน
ภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต และหินคลุก
 1.3.2 ไฟฟ้า 
             มีการขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำในบริเวณที่เริ่มมีประชาชนขยับขยายที่อยู่อาศัยมาอยู่ริมถนน  การขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะก็เริ่มครอบคลุมเกือบทุกหมู่บ้านแล้ว  และมีการติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
1.3.3 น้ำประปา
   ในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และปีงบประมาณ พ.ศ.2549  มีการก่อสร้างหอถังประปาหมู่บ้านเพิ่มเติมใน หมู่ 2,4,5,8,13,11 ที่เคยมีปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคเหล่านั้นหมดไป        ส่วนระบบประปา ของการประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการเข้าหมู่ 4 และหมู่ 12  เรียบร้อยแล้ว แต่ด้วยค่าการติดตั้งมาตรวัดน้ำที่
มีราคาแพงทำให้ประชาชนในหมู่บ้านยังใช้น้ำของประปาบาดาลในหมู่บ้าน
1.4ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
   บริเวณพื้นที่ในเขต อบต. มีพื้นที่ป่าไม้ คือ เขื่อนห้วยกุ่มซึ่งมีการห้ามตัดทำลายป่าทำให้สภาพป่า   ได้รับการฟื้นฟูสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น บริเวณรอบๆ หมู่บ้านซึ่งป่าเหล่านี้เริ่มที่จะฟื้นสู่สภาพป่าที่ดีขึ้น ในส่วนของแม่น้ำลำคลองเริ่มมีปัญหาจากการที่แม่น้ำลำคลองต้องรับสารพิษจากพื้นที่การเกษตรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในพื้นที่การเกษตรทำให้ปลาที่อยู่ในลำห้วยมีอาการเป็นโรค   และตายในที่สุดประกอบกับในปัจจุบันสภาพของลำห้วยจะแห้งขอดเกือบตลอดปี    เนื่องจากลำห้วยตื้นเขินทำให้สภาพแวดล้อมในลำห้วยไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตามระบบนิเวศน์
1.5  ด้านเศรษฐกิจ
 ประชาชนในเขต อบต. โดยมากร้อยละ  95  จะมีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา รายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ำ หมู่ 4,12  ที่มีแม่น้ำพรมไหลผ่านจะมีโอกาสทำนาปรัง และปลูกพืชในฤดูแล้ง คือ พริก และถั่วเหลือง ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้ระดับเศรษฐกิจในหมู่บ้านดี ส่วน หมู่ 1 มีอาชีพเสริมหลังจากการทำนา คือ ปลูกใบยาสูบ  สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนเพิ่มขึ้น  ในอัตราที่มากแต่เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย คือ ส่วนมากจะรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาจากพ่อแม่ทำให้ขาดการที่จะสร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับตัวเองโอกาสที่จะมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการอพยพแรงงานในฤดูแล้งในหลายหมู่บ้านที่พอหมดฤดูการทำการเกษตรแล้ว จำเป็นที่จะต้องไปหางานทำยังที่อื่น ๆ  เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงดูครอบครัว เนื่องจากรายได้ที่ได้รับจาการเกษตรไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดผลพวงตามมาคือปัญหาสังคม
1.6  ด้านสังคม
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  นิยมตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มโดยตั้งถิ่นฐานอยู่ริมเส้นทางคมนาคม  แหล่งน้ำ  เนื่องจากกระแสของโลกทุนนิยม ที่กำลังแผ่ อย่างเชี่ยวกรากในขณะนี้ ทำให้เกิดการบริโภคที่มากขึ้นสังคมชนบทของไทย  ตั้งแต่อดีตเป็นสังคมที่สงบสุข   มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คนในชุมชนโดยมากเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็ก ๆ  จะมีความเอาใจใส่ดูแลกันอย่างดีทำให้สังคมอบอุ่นไม่มีปัญหาของการแก่งแย่งแข่งขัน แต่หลัง จากกระแสของโลกยุคใหม่ที่ประชาชนโดยทั่วไปแสวงหาความสุขสบายจากวัตถุมากขึ้น  การครอบครองวัตถุถือ เป็นค่านิยมใหม่ที่ต้องมีการแข่งขันราคาของวัตถุที่มีราคาแพงแต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้คนหยุดการไขว่คว้าวัตถุเหล่านั้น จนทำให้สภาพสังคมในปัจจุบันมีการแข่งขันเพื่อหาเงินมาใช้ในการวัตถุต่างๆ ผู้คนเริ่มเดินทางไปทำงานยังต่างจังหวัดมากขึ้นทิ้งให้ผู้สูงอายุ เด็กอาศัยอยู่บ้านตามลำพังครอบครัวที่เคยอบอุ่น  ผู้คนเคยอาศัยกันกลับกลายเริ่มมีความเห็นแก่ตัวอิจฉาแก่งแย่งทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ เช่น วิกฤตปัญหาวัยรุ่นตามมา ซึ่งปัญหาเหล่านี้เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นอย่างที่การแก้ปัญหาด้วยวิธีง่ายๆ  จะสำเร็จผลได้

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น